วัดขุ่ม
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

ครูบาเจ้าผ้าลาย           ภัททิโย   หรือพระอูปัตติยะ   หรือบุ่นจางหมาย           บุ่นจางผ้าลาย แห่งวัดขุ่ม 

ซึ่งศรัทธาชาว  อำเภอขุนยวมและใกล้เคียงนิยมเรียกขานขนานนาม

ของครูบาด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธานามเดิมของท่าน    ชื่อว่า 

พระสมหมาย        ภัททิโย      (นามสกุลภีระ)        ท่านถือกำเนิดเมื่อ  

วันพฤหัสบดีที่    ๒๐    กุมภาพันธ์      พุทธศักราช      ๒๔๗๒    ที่

บ้านขุนยวม     ตำบลขุนยวม    อำเภอขุนยวม  จังหวัดแม่ฮ่องสอน

โยมบิดาชื่อ    นายอะละภะ ภีระ      โยมมารดาชื่อ    นางจองคำ   ภีระ

ท่านเป็นบุตรคนที่  ๔  ของญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต  จำนวน   ๖  คน

เมื่อในวัยเยาว์ทางครอบครัวส่งให้ศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถม

ศึกษาปีที่  ๔  โรงเรียนบ้านขุนยวม(บริเวณที่ทำการไฟฟ้าขุนยวมในปัจจุบัน)            ต่อมา  บิดามารดา

เห็นสมควรว่าอายุได้ ๑๖ ปีแล้ว  สามารถที่จะบรรพชาเป็นสามเณร    และศึกษา   พระธรรมวินัยในทาง

พระพุทธศาสนาได้                         จึงได้จัดพิธีบวช เป็นลูกแก้วส่างลอง       และ บรรพชา เมื่อวันที่ ๒๕

กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ วัดคำใน  ตำบลขุนยวม   อำเภอขุยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน                   โดยมี

พระสุจ่าต๊ะ                   เป็นผู้บรรพชาและอบรมสั่งสอนตามหลักศีลธรรมจรรยาให้แก่สามเณรสมหมาย

มาโดยตลอด            จวบจนพระอาจารย์อุงซึ่งเป็นพี่ชายและจำ พรรษาอยู่ที่วัดในประเทศพม่าได้กลับ

มาเยี่ยมญาติพี่น้องที่บ้านขุนยวม     และพบกับสามเณร สมหมาย    ที่เป็นน้องชายของตน               ซึ่ง

จำพรรษาอยู่ที่วัดคำใน จึงได้ขออนุญาจาก พระสุจ่าต๊ะ             ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่ดูแล อบรมสั่งสอน

สามเณรสมหมาย            เพื่อขอ อนุญาตพาสามเณรสมหมายไปจาริกธุดงค์ในเขตประเทศพม่า      ซึ่ง

พระสุจ่าต๊ะก็ไม่ขัดข้องและ อนุโมทนาในความตั้งใจของพี่น้องทั้งสองท่านนี้   จวบจนหลายปี     ต่อมา

สามเณรสมหมาย มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พระอาจารย์อุง                        ซึ่งเป็นพี่ชาย จึงได้จัดการให้

อุปสมบเป็น พระภิกษุ เมื่อวันที่   ๔   กรกฏาคม  พ.ศ.  ๒๔๙๒   เวลา  ๐๙.๓๒  น. ณ   พัทธสีมาวัดก่านคี

ตำบล หย่องซ่วย  อำเภอหย่องซ่วย จังหวัดหย่องซ่วย  (ไทใหญ่ตอนใต้) ของประเทศพม่า           โดยมี

พระออป่าต๊ะ               เป็นพรอุปัชฌาย์ พระอาจาระ            เป็นพระกรรม วาจาจารย์      และพระวิมาละ

เป็นพระอนุสาวนาจารย์        ได้รับฉายาในทางพระพุทธศาสว่า “ภัททิโย”       ซึ่งแปลว่าผู้ปฏิบัติเจริญ

และดำรงตนตามวิถีแห่งสมณสารูป              บำเพ็ญปฏิบัตนตามหลักพระธรรมวินัยด้วยความเคร่งครัด

เสมอมา            สิ่งที่พระสมหมายให้ความสำคัญ และถือ ปฎิบัติโดยไม่ขาดก็คือ          การบำเพ็ญเจริญ

สมาธิในป่าช้า   และการศึกษาหนังสือ พระไตรปิฏก                อันเป็นหลักคำสอนสูงสุดในทางพระพุทธ

ศาสนา        ที่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนให้ภิกษุ     ผู้เป็นสาวกได้เจริญรอยตาม

สู่หนทางแห่งการ หลุดพ้น                    และเทศนาสั่งสอนเหล่าพุทธศาสนิกชนให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

ตาม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์   ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๑     พระอาจารย์อุง   และ

พระสมหมายได้เดินทางกลับสู่ดินแดนถิ่นกำเนิดบ้านขุนยวม              อำเภอขุยวม   จังหวัดแม่ฮ่องสอน

และ ได้รับการนิมนต์จาก ศรัทธาชาวบ้านขุนยวมให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดคำใน              เนื่องว่า

พระอธิการคุ้มน๊ะถึงแก่การมรณภาพ        ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึง

ว่างลง ส่วนพระสมหมาย  ได้ขออนุญาตพระอาจารย์อุง   ซึ่งเป็น

พี่ชาย ไปจำพรรษากับพระก่าเหม่น๊ะ    เจ้าอาวาสวัดขุ่ม  ซึ่งเป็น

วัดที่อยู่ ใกล้ ๆ กัน แต่มีความสับปายะ ร่มรื่น           เหมาะแก่การ

บำเพ็ญเพียร        ต่อมาในปี  ๒๕๑๐  พระก่าเหม่น๊ะ     เจ้าอาวาส

วัดขุ่ม     ได้ถึง แก่ การมรณภาพ          ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาส

วัดขุ่มว่างลงศรัทธา ชาวบ้านขุ่ม       จึงได้ขออาราธนานิมนต์     พระสมหมาย ภัททิโย   เป็นเจ้าอาวาส

ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาซึ่งท่าน ได้รับตำแหน่งในทาง การปกครองคณะสงฆ์           พระอธิการสมหมาย

ภัททิโย                        ท่านมีความสนใจในกศึกษาพระธรรมวินัยตามวิถีแห่งองค์พระบรมศาสดาสัมมา

สัมพุทธเจ้า                    และสรรพวิชาอันเป็น ประโยชน์จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงข้อวัตร

ปฏิบัติปฏิปทาโดยการยึดหลัก การเจริญสมาธิภาวนาแบบมหาสติปัฏฐาน ๔                          อันเป็นแนว

ทางประพฤติปฏิบัติมา อย่างเคร่งครัดโดยตลอด                     อีกทั้งยังได้จาริกแสวงหาสัจธรรมตามป่า

เขาลำเนาไพร ในเขต       ประเทศพม่าและประเทศไทยในช่วงหลังออกพรรษาของทุกๆ ปี จนท่านอายุ

ล่วง เข้า๕๑ ปี  ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๑            หลังจากที่ท่านได้กลับมาจากการจาริกธุดงค์ท่านจึงได้

เปลี่ยนสถานที่ จำวัดจากบนศาลาการเปรีย            มาอาศัยเพิงพักกุฏิเก่าบริเวณหน้าศาลาการเปรียญ

(ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้วเพื่อใช้เป็นสถานที่ใน                การดำเนินการก่อสร้าง        อาคารพิพิธภัณฑ์

ภัททิยะเถรานุสรณ์เครื่องอัฎบริขาร    และอัฐิธาตุ ของท่าน/๒๕๕๓)เป็นที่ พักจำพรรษา     ปฏิบัติศาสน

กิจปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญเพียร กอปรกับ              ครูบาเจ้าสมหมายเป็น พระสงฆ์ ผู้ที่สำรวมในธรรมและ

สมณสารูป      เป็นผู้มักน้อย      สันโดษ      ชอบในสมถะ  พูดน้อย     ไม่ค่อยชอบสุงสิงยุ่งเกี่ยวกับผู้ใด 

เวลาครูบาเจ้าสมหมายจะต้องไป ปฏิบัติศาสนกิจ ทำวัตร  สวดมนต์               ท่านจะเดินจากวัดขุ่มไปที่

วัดม่วยต่ออยู่เป็นประจำ      เมื่อเสร็จศาสนกิจ ท่านก็จะเดินกลับไปวัดขุ่ม        ด้วยความสำรวมระวังไม่

สนใจที่จะเจรจากับใคร ขณะที่เดินทาง ผ่านระแวกบ้าน      ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านขุนยวม       ไปจำ

พรรษากับพระก่าเหม่น๊ะ  เจ้าอาวาสวัดขุ่ม  ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ ใกล้ ๆ กัน แต่มีความสับปายะ ร่มรื่น   เหมาะ

แก่การบำเพ็ญเพียร ต่อมาในปี  ๒๕๑๐ พระก่าเหม่น๊ะ เจ้าอาวาสวัดขุ่ม                ได้ถึงแก่การมรณภาพ

ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดขุ่มว่างลงศรัทธาชาวบ้านขุ่ม                                   จึงได้ขออาราธนานิมนต์

พระสมหมาย ภัททิโย                         เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาซึ่งท่านได้รับตำแหน่งในทาง

การปกครองคณะสงฆ์  พระอธิการสมหมาย   ภัททิโย                  ท่านมีความสนใจในกศึกษาพระธรรม

วินัยตามวิถีแห่งองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า           และสรรพวิชาอันเป็น ประโยชน์จากครูบา

อาจารย์ต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงข้อวัตร            ปฏิบัติปฏิปทาโดยการยึดหลัก การเจริญสมาธิภาวนาแบบ

มหาสติปัฏฐาน ๔                 อันเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติมา อย่างเคร่งครัดโดยตลอด               อีกทั้ง

ยังได้จาริกแสวงหาสัจธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร  ในเขต              ประเทศพม่าและประเทศไทยในช่วง

หลังออกพรรษาของทุกๆ ปี จนท่านอายุล่วง เข้า๕๑ ปี  ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๑         หลังจากที่ท่านได้

กลับมาจากการจาริกธุดงค์ท่าน           จึงได้เปลี่ยนสถานที่จำวัดจากบน

ศาลาการเปรียญ      มาอาศัยเพิงพักกุฏิเก่าบริเวณหน้าศาลาการเปรียญ

(ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้วเพื่อใช้เป็นสถานที่ใน    การดำเนินการก่อสร้าง

อาคารพิพิธภัณฑ์ ภัททิยะเถรานุสรณ์เครื่องอัฎบริขาร    และอัฐิธาตุ ของ

ท่าน/๒๕๕๓)เป็นที่พักจำพรรษา                   ปฏิบัติศาสนกิจปฏิบัติภาวนา

บำเพ็ญเพียรกอปรกับ   ครูบาเจ้าสมหมายเป็นพระสงฆ์ผู้ที่สำรวมในธรรมและสมณสารูปเป็นผู้มักน้อย

สันโดษ   ชอบในสมถะ  พูดน้อย   ไม่ค่อยชอบสุงสิงยุ่งเกี่ยวกับผู้ใด                เวลาครูบาเจ้าสมหมายจะ

ต้องไป ปฏิบัติศาสนกิจ ทำวัตร  สวดมนต์   ท่านจะเดินจากวัดขุ่มไปที่วัดม่วยต่ออยู่เป็นประจำ         เมื่อ

เสร็จศาสนกิจ ท่านก็จะเดินกลับไปวัดขุ่ม          ด้วยความสำรวมระวังไม่สนใจที่จะเจรจากับใคร ขณะที่

เดินทาง ผ่านระแวกบ้าน ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านขุนยวม

 


สาเหตุเปลี่ยนผ้าครอง

   มีชาวบ้านเล่าว่าครั้งหนึ่งมีสองสามีภรรยาเกิดทะเลาะวิวาทกัน          เรื่องครอบครัวกัน  

อย่างรุนแรง           ฝ่ายภรรยาก็วิ่งหนีเพื่อเอาตัวรอดจากการทำร้ายของสามีเข้ามาในวัดบ้าน

ไม้ซางหนาม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศพม่า เพื่อหวังที่จะพึ่งคุณพระ        และสามีก็วิ่งไล่

ตามเข้ามาทันพอได้โอกาสก็ใช้มีดฟันภรรยาของ ตนเองเสียชีวิต                 ต่อหน้าต่อตา

ครูบาเจ้าสมหมาย  โดยที่ท่านไม่มีโอกาสที่จะช่วยเหลือ ห้ามปรามไว้ได้เลย   ทำให้ท่านเกิด

ความสะเทือนใจที่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้หญิงคนนั้นไว้ได้ทัน  ตั้งแต่บัดนั้นท่านจึงเปลี่ยนการ

ครองผ้ากาสาวพัสตร์มาเป็นการนุ่งห่มผ้าซิ่นลาย  และ สวมเสื้อแบบผู้หญิงไทใหญ่(ส่วนใหญ่

ท่านจะชอบใส่เสื้อแบบผู้หญิงไทใหญ่สีขาว)ไว้ผมยาว   และเกล้ามวยผมของท่าน)ซึ่งศรัทธา

ชาวบ้านได้เรียกขานขนานนามท่านครูบาเจ้าสมหมายว่า  “ พระผีบ้า  ไว้ผมยาว    ใส่ผ้าถุง

นุ่งผ้าลาย  ปะแป้งเหมือนผู้หญิง  พระจริงอูปัตติยะ         ด้วยอาจเพราะท่านเกิดความ

สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น        และคงเพื่อเป็นการไว้ทุกข์หรืออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

 ให้กับผู้หญิงที่เสียชีวิตคนนั้นก็เป็นไปได้     หรืออีก 

 ประการหนึ่งที่ชาวบ้านสังเกตเห็นว่าตั้งแต่ท่านได้ย้าย

สถานที่ จำวัดลงมาอยู่กุฏิด้านล่าง   ท่านไม่ค่อยสุงสิง

พูดคุยกับใคร  แต่ส่วนใหญ่จะเห็นท่านเข้าไปอยู่ในกุฏิ

เงียบๆ    อยู่รูปเดียวเกือบตลอดทั้งวันเคยมีผู้ที่เคยไป

แอบดูท่าน     พบว่าท่านนั่งแต่สมาธิหลับตาทำความ

เพียรแบบไม่ไหวติงครั้งละ  เป็นเวลานานๆ หรือจะเป็น

เพราะเหตุนี้เองที่ทำให้ท่าน  ต้องปฏิบัติตนนุ่งครองผ้า

 ไม่เหมือนพระสงฆ์รูปอื่นๆ  โดยสิ้นเชิงเพื่อไม่ต้องการ

ผู้ใดมารบกวนท่าน  อันจะเป็นอุปสรรคต่อการประพฤติ

ปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  เพื่อปรารถนาจุดหมาย

ปลายทาง แห่งการประพฤติปฏิบัติ   คือ พระนิพพาน 

 อันเป็นที่สุดแห่งธรรม         ในทางพระพุทธศาสนา

ตลอดไป  จนถึง พฤติกรรมของท่านที่กระทำคล้ายกับ

คนเสียสติ   (คนบ้าซึ่งชาวบ้านบาง คนที่แสดงอาการ

ไม่นับถือท่านเรียกว่าพระผีบ้า)     ท่านจึงไม่ค่อยสนใจใคร ๆ ใครมาหาท่านมาอยู่ใกล้ ๆท่าน 

ท่านก็จะพูดว่า  เหม็น ๆ บ้วน น้ำลาย ถุยถ่มน้ำลายไปเรื่อยๆ      จนชาวบ้านบางค เกิดความ

สงสัยว่าท่านเสียสติจริงหรือเปล่า แต่เมื่อสังเกตและดูไปนาน ๆ  แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าท่านจะเป็น

คนที่เสียสติเช่นนั้น           เพราะผลจากการประพฤติปฏิบัติธรรมของท่านครูบาเจ้าสมหมาย

จนทำให้เกิดเหตุแปลก อัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่เคารพนับถือ      และคอยดูแลอุปฐากรับใช้ใกล้ชิด

ท่านว่า  ครูบาเจ้าสมหมาย     เป็นผู้รู้วาระจิตของบุคคลที่เข้ามาหาท่านว่าเป็นเช่นไร มีความ

ประสงค์อะไร   และสิ่งของที่นำมาถวาย ท่านเป็นของที่บริสุทธิ์หรือไม่   ผู้ถวายมีความเต็มใจ

ที่จะถวายท่านหรือไม่      ถ้าท่านสอบวาระจิต ได้ว่าเป็นของบริสุทธิ์เจ้าของเต็มใจที่จะนำมา

ถวายท่านก็จะรับไว้             แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ตรงกันข้ามท่านก็จะไม่รับสิ่งของนั้นเลย  

ด้วยเพราะท่านทราบวาระจิตหยั่งรู้วาระจิตของคนและสัตว์   ดังนั้นท่านจึงทราบว่าใครไปไหน

มาไหนไปทำอะไรอย่างไรท่านทราบหมด     จนทำให้ศรัทธาชาวบ้านแถบระแวกนั้นสะดุ้งไป

หลายคน         จนเป็นที่โจษขานจากศรัทธาชาวบ้านขุนยวมและใกล้เคียงว่าท่านเป็นบุคคล

ที่มีหูทิพย์   ตาทิพย์           เป็นแน่แท้ ในเรื่องของการสั่งสอนธรรมะของครูบาเจ้าสมหมาย

 ท่านจะไม่สอนเป็นคำพูดมากนัก  แต่จะแสดงพฤติกรรมออกเป็นปริศนาธรรมแก่ผู้ที่ท่านต้อง

การรับการอบรมสั่งสอน โดยการทำดูให้ขบคิดเป็นปริศนาธรรมให้แตก    ซึ่งจะสังเกตได้จาก

การที่ศรัทธาชาวบ้านได้นำข้าวของไปถวายท่าน     หรือท่านต้องการสิ่งของอย่างนั้นอย่างนี้ 

 ถ้าบุคคลผู้นั้นผลัดวันประกันพรุ่งบอกท่านว่าจะเอามาถวายให้พรุ่งนี้    ท่านก็จะไม่เอาท่านจะ

เอาเฉพาะของที่ท่านต้องการขณะนี้        และต้องเป็นวันนี้เท่านั้น และท่านก็จะรับถวายของ

เฉพาะของที่ท่านมีความจำเป็นต้องใช้เท่านั้นที่เหลือท่านก็จะแจกจ่าย มอบให้กับพระเณร

ในวัดไปใช้บริโภคขบฉันกันต่อไป หรือไม่ก็โยนทิ้งออกหน้าต่าง หรือ ไม่ก็โยนใส่กองไฟ     

และที่แปลก น่าขบคิดของท่านอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตรงบริเวณหน้ากุฏิของท่าน ท่านจะตักน้ำ

ใส่ถังไว้  ๒-๓ ถัง    ทุกวันและท่านจะชอบใช้แป้งเด็กแคร์โรยไว้เต็มบริเวณหน้ากุฏิอยู่ตลอด

เวลา   ไม่เว้นแม้แต่ในกุฏิที่ท่านจำวัดอยู่และสาดน้ำเปียกชุ่มและขัดถูกุฏิไปทั้งวัน  หากมีใคร

มาหาท่านถ้าท่านเห็นว่าเป็นคนกิเลสหนาบาปหนักท่าน

จะตักน้ำในถังเข้าสาดใส่โดยบุคคลนั้นแทบไม่ทันตั้งตัว

ได้เลย  และถ้าเป็นคนดีบาปเบากิเลสน้อย    ท่านก็จะ

ตักน้ำสาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ถึงกับเปียกมาก      และถ้า

เป็นคนดีไม่มีสิ่งใดด่างพร้อยท่านก็จะไม่ทำอะไรไม่  ว่า

อะไร         ในแต่ละวันกุฏิของท่านที่พักอาศัยอยู่โดย

เฉพาะบริเวณนอกชานกุฏิท่าน  จะเปียกชุ่มไปด้วยน้ำที่

ท่านจะตักมาเพื่อรดราดล้างกุฏิตลอดทั้งวัน        และ

โรยแป้งเด็กแคร์ไปโดยทั่วจนพื้นกระดานดู ขาวไปหมด   ซึ่งเป็นปริศนาธรรม     อันหมายถึง

ให้เราพึงจะต้องเร่งชำระล้างกิเลสของเราออกให้สะอาดหมดสิ้นไป ตลอดเวลาส่วนในเรื่องของ

การโรยแป้งนั้นท่านมิใช่ต้องการไล่มดไล่แมลงอะไร        แต่เป็นการบอกถึงว่าเมื่อใจของเรา

ชำระล้างกิเลสอาสวะต่าง ๆ     ออกไปให้จนหมดสิ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือความขาวสะอาด

บริสุทธิ์ของจิตใจทั้งภายในและภายนอกที่สุดก็คือ  พระนิพพนอันเป็นที่สุดแห่งการประพฤติ

ปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา     ดังนั้นทุกอิริยาบถของท่านครูบาเจ้าสมหมาย  หากผู้ที่

ได้เคยเข้าไปกราบนมัสการท่านแล้วและเป็นผู้ที่ชอบสังเกตแล้ว   จะพบว่าท่านจะแสดงธรรม

เป็นปริศนาให้ขบคิดอยู่ตลอดเวลา        ผู้ที่มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถตีความปัญหาธรรมะ

ได้แตกฉานได้    ซึ่งมีรูปแบบลักษณะคล้ายนิกายเซ็นของลัทธิมหายาน   ซึ่งศรัทธาชาวบ้าน

แถบนั้น และใกล้เคียงบางคนไม่เข้าใจจึงไปตีความเป็นอย่างอื่นในเรื่องของโชคลาภ แต่ก็ช่วย

ให้ศรัทธาชาวบ้าน โชคดีกันมานักต่อนักที่เหมือนจะไปนมัสการ

ครูบาสมหมายเพื่อขอข้อคิดธรรมะ        แต่ท้ายที่สุดก็ขอเรื่อง

โชคลาภกันซะ เป็นส่วนใหญ่แต่ก็ได้ผล         อีกทั้งชาวบ้าน

เดือดเนื้อ ร้อนใจมาหา ครูบา  สมหมาย ท่านก็โปรด เมตตา

ช่วยให้คลายร้อนผ่อนหนักเป็นเบาปัดเป่าโรคาพยาธิ

ให้ด้วยความเมตตาจึงเป็นที่เลื่อมใสนับถือของศรัทธาชาวบ้านตลอดถึงผู้ที่เคารพนับถือ   ถึง

แม้แนวปฏิบัติ พฤติกรรมบางอย่าง ตลอดไปจนถึงการแต่งกายซึ่งไม่เหมือนพระสงฆ์ทั่วไป 

เพราะท่านนุ่งห่ม       ครองผ้าลาย เกล้ามวยผม เหมือนผู้หญิงไทใหญ่ทั่วไป ซึ่งทำให้บุคคล

ต่างจังหวัดทราบข่าวจึงแวะเวียนผ่านไปผ่านมา          ได้เดินทางเข้าไป กราบนมัสการ  

ท่านครูบาเจ้าสมหมาย ต่างโจษขานว่า     ท่านต้องมิใช่บุคคลธรรมดา ต้องเป็นพระอริยะสงฆ์

ที่บรรลุธรรมขั้นสูงของพระพุทธศาสนา แน่นอน                    ต่างขนานนามเรียกขาน

ครูบาสมหมาย ภัททิโย ด้วยความเคารพศรัทธาว่า ครูบาเจ้าผ้าลายตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

 

 

 

อาวสานแห่งงชีวิต

และแล้ววันที่ศรัทธาสาธุชน        ชาวตำบลขุนยวม

และใกล้เคียงที่เคารพนับถือ    ท่านครูบาเจ้าผ้าลาย

ต้องร่ำไห้ด้วยความ โศกเศร้า เสียใจ         เมื่อวันที่

๒๕   ธันวาคม ๒๕๓๔   ท่านได้ละสังขารอย่างสงบ

ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน         ณ      กุฏิท่านหน้า

ศาลาการเปรียญ วัดขุ่ม รวมสิริอายุได้   ๖๒   ปี  พรรษา  ๔๒        และตั้งศพบำเพ็ญกุศล

ครูบาเจ้าผ้าลาย   เป็นระยะเวลา   ๗    วัน  ตลอดระยะเวลา  ๗ วัน  แห่งการบำเพ็ญกุศล

ศพท่าน เป็นที่แปลกใจแก่ชาวบ้านขุนยวม   และใกล้เคียงว่าครูบาเจ้าผ้าลายไม่เคยออกไป

ไหนไม่ค่อยสุงสิงยุ่งเกี่ยวกับผู้ใด        แต่เวลามรณภาพมีพระสงฆ์ผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่

เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป       และบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการสังคมมาร่วมเป็นเจ้าภาพ

และร่วมในงานศพของท่านมากมาย   จนไม่สามารถจะสอบถามหาคำตอบใดๆจากทุกคนที่

ได้มาร่วมงาน และช่วยงานกันอย่างคับคั่ง   เมื่อครบกำหนด

การบำเพ็ญกุศลศพถวายพระเดชพระคุณ      หลวงปู่ครูบา

เจ้าผ้าลาย ภัททิโย  ครบ ๗ วัน        จึงได้เคลื่อนย้ายสรีระ

สังขารของท่านจากศาลาการเปรียญ มาประดิษฐาน      ณ

จองนิป่านและประดิษฐานบนปราสาทศพ     ตามธรรมเนียม

ประเพณีศพพระสงฆ์มหาเถระชาวไทใหญ่   เพื่อบำเพ็ญกุศลในพิธีฌาปนกิจถวายเพลิงศพ

ท่านในลำดับต่อไปเป็นระยะเวลา ๑๘ วัน ที่ทำพิธีบำเพ็ญกุศลศพครูบา     เมื่อศิษยานุศิษย์

ของครูบาที่ทราบข่าวการมรณะภาพของท่าน           ต่างก็กุลีกุจอมาร่วมเป็นเจ้าภาพสวด

พระอภิธรรมกันทุกคืนจนคิวยาวเหยียด         ซึ่งถือว่า

เป็นงานศพที่บำเพ็ญกุศลได้ยาวถึง  ๑๘ วัน  ติดต่อกัน

ในสมัยนั้น   จึงได้ กระกอบพิธีฌาปนกิจถวายเพลิงศพ

พระเดชพระคุณหลวงปู่ครูบาเจ้าผ้าลาย ภัททิโย    ซึ่ง

คลื่นมหาชนต่างมาร่วมงานกันจนดูเนืองแน่น      เป็นที่

อุ่นหนาฝาคั่ง             ของทางเจ้าภาพที่แสดงถึงความเคารพเลื่อมใสในพระเดชพระคุณ 

ของหลวงปู่ครูบา        


พระธาตุปาฏิหาริย์                                               

ในวันทำพิธีฌาปนกิจถวายเพลิงศพ หลวงปูครูบาผ้าลาย   ภัททิโย   วันที่  ๑๑  มกราคม

๒๕๓๕    ณ   เมรุชั่วคราว       บริเวณสนามกีฬาอำเภอขุนยวม            ซึ่งมีคณะศรัทธา

พุทธศาสนิกชน         และคณะศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือ

ท่านต่างมากันเป็นจำนวนมากจนพื้นที่สนามกีฬา       ของ

อำเภอขุนยวม                   ที่ดูกว้างขวางกลายเป็นพื้นที่

ที่ดูคับแคบเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละคนก็ต่าง      มีวัตถุประสงค์

เดียวกันก็คือการมาถวายความกตัญญูกตเวทิตาคุณ    และไว้อาลัยต่อหลวงปู่ถึงแม้จะเดิน

ทางกันมาร่วมงานกันคนละทิศละทาง              แต่ด้วยความเคารพศรัทธาในบุญญาบารมี

ศีลยาจาริยวัตร    ในพระเดชพระคุณหลวงปู่ครูบาผ้าลายตลอดจนผู้ที่เคยประสบพบเจอใน

ความอัศจรรย์ความศักดิ์สิทธิ์แห่งคุณศีล คุณทาน คุณภาวนา     ของหลวงปู่ครูบาผ้าลาย

ตลอดชีวิตของท่าน มีแต่การให้ การสละ            และการขจัดขัดล้างชำระซึ่งอาสวะกิเลส

อันเป็นนิวรณ์ธรรมเครื่องขัดขวางหนทางแห่งพระนิพพานได้โดยสิ้นเชิง        จนสภาวะจิต

ของท่านสะอาดใสบริสุทธิ์         แต่หนทางวิถีการสอนของท่านต่างกับพระอริยสงฆ์รูปอื่นๆ

กล่าวคือ ท่านเป็นพระที่พูดน้อย ปฏิบัติมาก     การสอนของท่านจะสอนในเชิงปริศนาธรรม

แก่ศิษย์หากใคร      มีปัญญาขบคิด ข้อธรรมที่ท่านสอนได้แตกฉานก็จะน้อมนำไปปฏิบัติ

ต่อไป           จนเกิดมรรคเกิดผลหากใครคิดไม่ได้หรือคิดคนละทางกับ

ท่าน   แต่ไปคิดเป็นเรื่องโชคลาภ           บ้างก็ไปตีความกันต่างๆนานา

ก็โชคดีกันไป  ซึ่งบ่อยครั้งที่คณะศิษย์  หรือชาวบ้าน      ที่เคารพนับถือ

ท่านชอบมาหาท่าน ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวกันอยู่เป็นประจำ           แต่ก็อาจจะถูกท่าน

ตำหนิหรือสอนด้วยปริศนาธรรม     โดยการสาดน้ำลงพื้นและขัดถูพื้นกระดานกุฏิให้ดูหรือ

ไม่ก็เอา แป้งเด็กแคร์โรย ลงพื้นกระดาน หรือการถ่มน้ำลาย และกล่าวคำว่า “เหม็นๆ”

เป็นต้น              ในขณะที่ท่านยังดำรงธาตุขันธ์อยู่ท่านยังได้เคยปรารภพระอาจารย์เกษม

ปิยธัมโม(เจ้าอาวาส วัดขุ่มรูปปัจจุบัน  พ.ศ. ๒๕๕๓) ในเรื่อง    การจัดการกับสรีระสังขาร

ท่านว่า  “ขุนยวม          มีภูเขาใหญ่อยู่มากเป็นดังเสมือนเจดีย์ใหญ่อยู่แล้วเราตายไม่ต้อง

ทำอะไรมาก ให้เจาะเขาหรือถ้ำแล้วเอากระดูกไปฝังก็พอแล้ว    หรือถ้าเกรงว่าจะเป็นภาระ

จะโยนทิ้งเหวไปก็ได้ สบายดี”   ในช่วงพิธีฌาปนกิจศพท่านมีคณะศรัทธาสานุศิษย์มามาก

จนกำหนดพิธีฌาปนกิจถวายเพลิงศพท่านจากเวลา ๑๕.๓๐

น.  ต้องเลื่อนไปเป็นเวลา(จริง) ๑๘.๐๐ น.    จึงได้ประกอบ

พิธีฌาปนกิจ                     โดยพระครูอนุสรณ์ศาสนาการ

เจ้าคณะอำเภอขุนยวม วัดม่วยต่อ   เป็นประธานจุดเพลิงถวายแด่ท่านครูบา    ซึ่งภายหลัง

พิธีถวายเพลิงศพแล้ว       คณะศิษยานุศิษย์ผู้เคารพเลื่อมใสต่างไม่ยอมกลับเฝ้าแต่ดูสรีระ

สังขารของท่านมอดไหม้     เหลือแต่เถ้าถ่านตลอดทั้งคืนจวบจนรุ่งสางทางคณะกรรมการ

วัดขุ่ม   นำโดยพระอาจารย์เกษม ปิยธัมโม           ต้องนำคณะกรรมการและทหารตำรวจ

กลุ่มหนึ่งมาช่วยอารักขาเฝ้าดูแล   กองอัฐิธาตุ      อังคารธาตุของหลวงปู่ครูบาเจ้าผ้าลาย

เพราะมีกลุ่มคณะศิษย์ที่เคารพนับถือ ครูบา    ต่างที่จะหาเวลาและรอโอกาสที่จะยื้อแย่งอัฐิ

ธาตุของครูบา   เพื่อนำไปกราบสักการะ ซึ่งตามธรรมเนียมล้านนาเมืองเหนือ  หรือไทใหญ่

(แม่ฮ่องสอน)จะมีพิธีบังสุกุลเก็บอัฐิธาตุ


มูลเหตุของการสร้างรูปเหมือน

     กาลเวลาแห่งแรงศรัทธาครูบาเจ้าผ้าลาย       อันไม่มีวัน

เสื่อมคลาย                   นับแต่วันที่ถวายเพลิงฌาปนกิจศพ

ครูบาเจ้าผ้าลาย ปี พ.ศ.๒๕๓๕   จวบจนถึงปี   พ.ศ.๒๕๕๒

ในค่ำคืนหนึ่งของนายชูเชิดกระจ่าง           ผู้ที่เคารพนับถือ

ในพระเดชพระคุณหลวงปู่ครูบา      และกำลังนอนป่วยด้วย

โรคประจำตัว      ซึ่งนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

ในกรุงเทพฯ  นายชูเชิด   กระจ่าง      ในภวังค์แห่งความฝัน

ตนได้พบกับครูบาเจ้าผ้าลาย              มายืนพร้อมกับเขย่า

ที่หัวเตียงที่นายชูเชิด   กระจ่าง  เพื่อที่ให้รู้สึกตัวหลังจากที่

นอนรักษาตัวและอยู่ในอาการสลึมสลือมาหลายวัน        และได้ปรารภสั่งไว้ว่า    “อาตมา

คือ พระสมหมาย (ครูบาผ้าลาย) หากโยมมีความประสงค์     อยากจะหายจากอาการป่วย

ที่โยมเป็นอยู่นี้           ก็ให้สร้างรูปเหมือนอาตมาเพื่อเป็นการต่ออายุขัยของโยมแต่ถ้าโยม

ไม่สร้างโยมจะเสียชีวิตในไม่ช้านี้เพราะโยมหมดอายุขัยแล้ว”    จากนั้นนายชูเชิด กระจ่าง

ก็ยกมือไหว้และรับปากในการเป็นประธานสร้างรูปเหมือนของครูบา            จากนั้นครูบาก็

หายไป พอตอนเช้าก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในความฝันให้ภรรยาและลูก ๆ ฟัง      และลงมติกัน

ที่จะดำเนินการติดต่อช่างที่จะสร้างรูปหล่อเหมือนขนาดเท่าองค์จริง      โดยได้ติดต่อช่างที่

อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้ที่ปั้น  ตกลงปั้นในราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่ง

แสนห้าหมื่นบาท)      จากนั้นอาการของนายชูเชิดได้หายทุเลาเบาคลายอย่างน่าอัศจรรย์

จนอาการเป็นปกติสามารถเดินได้ด้วยตนเองอย่างคล่องแคล่ว และไม่ต้องใช้ไม้เท้า ใบหน้า

ดูสดใสเหมือนคนที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยมาก่อนเลย             จวบจนมาถึงวันที่ ๒๘ เมษายน

พ.ศ.๒๕๕๓    รูปเหมือนของหลวงปู่ครูบาเจ้าผ้าลายได้สำเร็จ         และถูกอัญเชิญมาถึง

อำเภอขุนยวมในเวลา ๐๙.๔๕ น. ด้วยรถตู้ของนายชูเชิด กระจ่าง  พร้อม ครอบครัว  และ

ช่างผู้ติดตามมาดูแลความเรียบร้อย  และอัญเชิญขึ้นรถยนต์หมายเลขทะเบียน ผก ๑๓๒๔

เชียงใหม่   ที่ผูกประดับตกแต่งด้วยผ้าริ้วสีแห่แหนไปทั่วตลาด อำเภอขุนยวม      พร้อมกับ

ศรัทธาสาธุชนชาวอำเภอขุนยวมกันอย่างคับคั่ง        ทุกคนต่างยกมือไหว้กันสลอนเหมือน

ดอกบัว ตลอดเส้นทางศรัทธาชาวบ้านต่างนำข้าวตอกดอกไม้และ

น้ำขมิ้นส้มป่อย    ต่างมาบูชาสระสลุงและขอพรครูบา    ซึ่งทำให้

หลายคนที่ปรารถนาโชคลาภในเรื่องของตัวเลขต่างโชคดีกัน

คนละมากน้อยต่างกันตามแรงบุญแรงกุศลของแต่ละบุคคล ซึ่งใน

การอัญเชิญรูปเหมือนครูบาในครั้งนั้น รถยนต์ที่ติดตามขบวนยาว

เป็นกิโล ๆ     และพอขบวนมาถึงหน้าศาลาการเปรียญของวัดขุ่ม

ตอนกำลังอัญเชิญรูปหล่อครูบาขึ้นประดิษฐานบนศาลาการเปรียญ       แดดที่กำลังร้อนจ้า

กลับคลึ้มและฝนตกจนญาติโยมที่ตามขบวนต่างเปียกชุ่มกัน    ตามๆกันพอรูปเหมือนครูบา

ขึ้นบนศาลาฝนกลับหยุดและแดดออกจ้าเหมือนเดิม       นับว่าเป็นความอัศจรรย์แห่งครูบา

อีกประการหนึ่ง   ปัจจุบันรูปหล่อเหมือนตั้งประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญวัดขุ่ม     เพื่อ

ให้ศรัทธาญาติโยม    ได้มา กราบไหว้ ขอพร     ขอความโชคดีโดยเฉพาะเรื่องของตัวเลข

ค่อนข้างจะสมหวังกันมานักต่อนัก แล้ว         และเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน

ศรัทธาสานุศิษย์สืบต่อไป

      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 










Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 5,279 Today: 3 PageView/Month: 39

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...